
คำเตือน มีการสปอยเรื่อง และเหมาะกับผู้อ่านอายุ 18 ปีขึ้นไป
.
ผมครุ่นคิดอยู่นานว่าจะเป็นการควรหรือไม่ที่จะแบ่งปันความคิดเห็นของผมที่มีต่อละครเพลง “Waterfall a New Musical” ซึ่งกำลังจัดแสดงที่เมืองไทยรัชดาลัยเธียเตอร์? และผมควรจะกำหนดกรอบความคิดหรือสำนวนภาษาอย่างไรจึงควรในการอธิบายประสบการณ์อันตะลึงพรึงเพริดที่ผมได้รับหลังจากการไปเยือน “น้ำตกมิตาเกะ” ในครั้งนี้ ครั้นเมื่อเวลาสองสามวันได้ล่วงไปแล้ว สายธารความคิดที่พรั่งพรูอยู่ในหัวจึงเริ่มตกตะกอน และเป็นที่แน่แท้แก่ใจผมว่า “Waterfall” ที่แท้จริงนั้นมีความหมายอย่างไร
.
ผู้สร้างจงใจตั้งชื่อละครเวอร์ชันใหม่นี้ให้เป็น “Waterfall” แทนการแปลตรงตัวตามต้นฉบับเดิมคือ “ข้างหลังภาพ” (Behind the Painting) เพื่อรองรับเนื้อหาและจุดสนใจของเรื่องที่แตกต่างออกไป สุภาพสตรีสูงศักดิ์ผู้อาภัพอย่างคุณหญิงกีรติถูกแทนที่ด้วย “แคทเธอรีน” จิตรกรสาวชาวอเมริกันผู้หมดแรงบันดาลใจในการวาดภาพได้ตัดสินใจแต่งงานกับ “เจ้าคุณอธิการบดี” รมว.กระทรวงต่างประเทศ ผู้ครั้งหนึ่งเคยสอนให้เธอรู้จักรักงานศิลปะ ในขณะที่ “นพพร” ตามต้นฉบับเป็นนักเรียนเศรษฐศาสตร์หนุ่มที่มีอุดมการณ์แรงกล้าซึ่งเป็นตัวแทนของชนชั้นกระฎุมภีใหม่ของสยามได้ถูกแทนที่ด้วยหนุ่มบ้านนอกคลั่งอเมริกันผู้เบื่อหน่ายต่อความล้าหลังของประเทศตัวเอง การศึกษาทำให้เขาได้ยกระดับฐานะทางสังคมมาเป็นผู้ช่วยท่านเจ้าคุณและได้พัฒนาความสัมพันธ์ฉัน “ชู้รัก” กับแคทเธอรีนที่น้ำตกมิตาเกะ ซึ่งต่อมาเป็นแรงบันดาลใจให้เธอกลับมาวาดภาพสีน้ำอีกครั้ง ก่อนจะตรอมใจตายหลังทราบว่านพพรได้แต่งงานไปกับหญิงอื่น การดำเนินเรื่องบนบริบทความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทยและโลกในยุคนั้นทำให้ที่สุดผู้สร้างมอบบทสรุปให้กับเราว่า ความรักครั้งนี้ทำให้นพพรได้เติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่และเรียนรู้ว่า “ความเป็นไทย” นั้นงดงามและมีคุณค่ากับเขาเพียงไหน
.
ผมอดจะกระสับกระส่ายตลอดเวลาที่ชมไม่ได้ ไม่ใช่เพราะไม่ยอมรับต่อการดัดแปลงเรื่องชนิดกลับตาลปัตร แต่เป็นความร้อนรนว่าเหตุใดนวนิยาย “ข้างหลังภาพ” ของ “ศรีบูรพา” นักเขียนสามัญชนหัวก้าวหน้าของยุคนั้น เมื่อถูกนำเสนอผ่านมุมมองของชนชั้นนำหัวอนุรักษ์นิยมไทยยุคนี้กับชื่อ “Waterfall” จะเจือไปด้วยอคติและมายาคติจากวาทกรรมว่าด้วย “ความเป็นไทย” ได้ถึงเพียงนี้
.
นพพร ซึ่งครั้งหนึ่งเคยกุมอำนาจนำในฐานะ “ผู้เล่าเรื่อง” (Narrator) ถูกกดทับให้กลายไปเป็นเพียง “เด็กสามกีบกลับใจ” ที่ตื่นเต้นไปกับอุดมการณ์ใหม่ซึ่งตัวเองก็ไม่ได้รู้จักอย่างถ่องแท้ ในขณะที่ผู้ใหญ่ของบ้านเมืองอย่างท่านเจ้าคุณถูกขับเน้นให้เป็นผู้มากบารมีที่อ่านเกมส์ขาดทุกอย่างแต่ก็เปี่ยมไปด้วยความกรุณาอย่างถึงที่สุด ส่วนแคทเธอรีนทำหน้าที่เสมือนเป็นกระบอกเสียงของรัฐไทยที่ตอกหน้านพพรว่าความเป็นไทยแบบจารีตนั้นงดงามและน่าลุ่มหลงเพียงใด ขนาดฝรั่งหัวทองยังต้องมาตกหลุมรักและพยายามปกป้องรักษาไว้ในขณะที่คนไทยด้วยกันกำลังทำลายรากของตัวเอง ทั้งนี้ น่าสนใจว่าผู้ที่กุมอำนาจนำในฐานะผู้เล่าเรื่องกลับตกเป็นหน้าที่ของ “เทพบุตร-เทพธิดา” ซึ่งผมอยากจะเรียกว่าตุ๊กตาเสียกบาลประจำศาลพระภูมิที่ถูกรัดรึงไปด้วยเครื่องโขนละครอย่างประเพณีนิยมเต็มคราบ กับเหล่า “อวตาร” (Avatar) พระ-นาง-ลิง อุปลักษณ์ของ เจ้าคุณอธิการบดี-แคทเธอรีน-นพพร ผู้ไม่มีสิทธิจะเป็น “คน” แม้เพียงในความฝัน
.
ถ้าจะพูดให้ถูกสิ่งที่แคทเธอรีนหลงรักหาใช่ “ความเป็นไทย” อย่างที่ผู้สร้างต้องการจะบอกให้เราเชื่อ แต่เธอตกอยู่ในวังวนของ “มายาภาพ” (Fantasy) และรสนิยม “ความลุ่มหลงต่อความแปลกใหม่” (Exotic) ที่เธอสร้างขึ้นมาหลอกตัวเองต่างหาก ถ้าพิจารณาให้ดีจะเห็นว่าแคทเธอรีนหมั้นหมายมาอยู่กับท่านเจ้าคุณเพราะความรู้สึก “ถวิลหาอดีต” (Nostalgia) ของความรักครั้งแรกที่ยังไม่เคยถูกเติมเต็ม แต่กลับค้นพบว่าท่านเจ้าคุณไม่สามารถตอบสนองความปรารถนาของเธอได้อย่างที่คิด จะด้วยความจงใจหรือสถานการณ์บันดาล ความเย้ายวนอย่าง Exotic นี้เองนำพาเธอไปสู่ความดูดดื่มครั้งใหม่กับ “หนุ่มไทยบ้าน” อย่างนพพรที่คงจะเร้าใจกว่า หากครั้งหนึ่งท่านเจ้าคุณเคยสอนให้แคทเธอรีนรู้จักว่า “ความรักในงานศิลปะ” เป็นเช่นไร เมื่อมีโอกาสเธอก็พร้อมจะสอนให้ไก่อ่อนอย่างนพพรรู้จัก “ความรักในงานศิลปะ” เช่นเดียวกันนั้นด้วย เพราะเหตุนี้ ฉากน้ำตกจึง "เฉอะแฉะ" และ "เจิ่งนอง" ไปด้วย "น้ำ" ท่ามกลางธรรมชาติอันผลิบาน สงัด และอุดมสมบูรณ์ “Waterfall” จึงเป็น “สัญญะ” ที่สำคัญกว่า “ภาพลักษณ์” ที่ต้องรักษา เพราะเป็นบ่อเกิดของต้นธารแรงบันดาลใจอันพรั่งพรูของแคทเธอรีนในการวาดภาพมิตาเกะที่ร้างมือไปนาน และเพราะเหตุนี้ด้วยเธอจึงเลือกใช้ “สีน้ำ” ละเลงลงบนกระดาษที่แห้งผากจนกลับมามีสีสันอีกครั้ง "น้ำตก" ได้กลายเป็นน้ำทิพย์ที่ชโลมให้เธอมีชีวิตอยู่ต่อไป แต่เมื่อเธอค้นพบว่าเธอไร้สิ้นอำนาจในการเข้าควบคุมเป็นเจ้าของนพพรตอนท้ายเรื่อง เธอจึงเลือกที่จะตายอยู่ในมายาภาพที่เธอสร้างขึ้นมาเองนั้น เพราะ "Everything in the world is about sex — except sex. Sex is about power”, Oscar Wilde.
.
ความสำเร็จหรือล้มเหลวของละครเรื่องนี้จึงไม่ได้อยู่ที่ “การรื้อสร้าง” (Deconstruction) เรื่องราวจนผิดเพี้ยนไปจากต้นฉบับ แต่เป็นเพราะภาวะการไปไม่สุดในทางใดทางหนึ่ง ความสะเปะสะปะของการไม่หลุดพ้นจากร่องรอยความสำเร็จของตัวเองใน “ข้างหลังภาพ เดอะมิวสิคัล” ได้ตามหลอกหลอนผู้สร้างเช่นเดียวกับมายาภาพที่ตามหลอกหลอนแคทเธอรีน ความสองจิตสองใจในการตัดสินใจจะเก็บทั้งไทย ทั้งญี่ปุ่น แต่ก็อยากจะนำอเมริกาเข้ามามีบทบาทด้วยให้ได้ตามท่าบังคับที่จะนำละครเรื่องนี้ไปสู่บรอดเวย์กลายเป็นตลกร้าย และที่ร้ายยิ่งกว่าก็คือ ความลุ่มหลงในมายาคติของกรอบความคิดเรื่องความเป็นไทย ได้ทำให้ละครเรื่องนี้ขาดชั้นเชิงเช่น “ภาพ” ที่มี “ข้างหลัง” แต่กลายเป็นเพียงน้ำตกพิศวาสที่ไม่อาจเป็น Global Citizen ได้อย่างใจปรารถนา
.
ผมครุ่นคิดอยู่นานว่าจะเป็นการควรหรือไม่ที่จะแบ่งปันความคิดเห็นของผมที่มีต่อละครเพลง “Waterfall a New Musical” ซึ่งกำลังจัดแสดงที่เมืองไทยรัชดาลัยเธียเตอร์? และผมควรจะกำหนดกรอบความคิดหรือสำนวนภาษาอย่างไรจึงควรในการอธิบายประสบการณ์อันตะลึงพรึงเพริดที่ผมได้รับหลังจากการไปเยือน “น้ำตกมิตาเกะ” ในครั้งนี้ ครั้นเมื่อเวลาสองสามวันได้ล่วงไปแล้ว สายธารความคิดที่พรั่งพรูอยู่ในหัวจึงเริ่มตกตะกอน และเป็นที่แน่แท้แก่ใจผมว่า “Waterfall” ที่แท้จริงนั้นมีความหมายอย่างไร
.
ผู้สร้างจงใจตั้งชื่อละครเวอร์ชันใหม่นี้ให้เป็น “Waterfall” แทนการแปลตรงตัวตามต้นฉบับเดิมคือ “ข้างหลังภาพ” (Behind the Painting) เพื่อรองรับเนื้อหาและจุดสนใจของเรื่องที่แตกต่างออกไป สุภาพสตรีสูงศักดิ์ผู้อาภัพอย่างคุณหญิงกีรติถูกแทนที่ด้วย “แคทเธอรีน” จิตรกรสาวชาวอเมริกันผู้หมดแรงบันดาลใจในการวาดภาพได้ตัดสินใจแต่งงานกับ “เจ้าคุณอธิการบดี” รมว.กระทรวงต่างประเทศ ผู้ครั้งหนึ่งเคยสอนให้เธอรู้จักรักงานศิลปะ ในขณะที่ “นพพร” ตามต้นฉบับเป็นนักเรียนเศรษฐศาสตร์หนุ่มที่มีอุดมการณ์แรงกล้าซึ่งเป็นตัวแทนของชนชั้นกระฎุมภีใหม่ของสยามได้ถูกแทนที่ด้วยหนุ่มบ้านนอกคลั่งอเมริกันผู้เบื่อหน่ายต่อความล้าหลังของประเทศตัวเอง การศึกษาทำให้เขาได้ยกระดับฐานะทางสังคมมาเป็นผู้ช่วยท่านเจ้าคุณและได้พัฒนาความสัมพันธ์ฉัน “ชู้รัก” กับแคทเธอรีนที่น้ำตกมิตาเกะ ซึ่งต่อมาเป็นแรงบันดาลใจให้เธอกลับมาวาดภาพสีน้ำอีกครั้ง ก่อนจะตรอมใจตายหลังทราบว่านพพรได้แต่งงานไปกับหญิงอื่น การดำเนินเรื่องบนบริบทความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทยและโลกในยุคนั้นทำให้ที่สุดผู้สร้างมอบบทสรุปให้กับเราว่า ความรักครั้งนี้ทำให้นพพรได้เติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่และเรียนรู้ว่า “ความเป็นไทย” นั้นงดงามและมีคุณค่ากับเขาเพียงไหน
.
ผมอดจะกระสับกระส่ายตลอดเวลาที่ชมไม่ได้ ไม่ใช่เพราะไม่ยอมรับต่อการดัดแปลงเรื่องชนิดกลับตาลปัตร แต่เป็นความร้อนรนว่าเหตุใดนวนิยาย “ข้างหลังภาพ” ของ “ศรีบูรพา” นักเขียนสามัญชนหัวก้าวหน้าของยุคนั้น เมื่อถูกนำเสนอผ่านมุมมองของชนชั้นนำหัวอนุรักษ์นิยมไทยยุคนี้กับชื่อ “Waterfall” จะเจือไปด้วยอคติและมายาคติจากวาทกรรมว่าด้วย “ความเป็นไทย” ได้ถึงเพียงนี้
.
นพพร ซึ่งครั้งหนึ่งเคยกุมอำนาจนำในฐานะ “ผู้เล่าเรื่อง” (Narrator) ถูกกดทับให้กลายไปเป็นเพียง “เด็กสามกีบกลับใจ” ที่ตื่นเต้นไปกับอุดมการณ์ใหม่ซึ่งตัวเองก็ไม่ได้รู้จักอย่างถ่องแท้ ในขณะที่ผู้ใหญ่ของบ้านเมืองอย่างท่านเจ้าคุณถูกขับเน้นให้เป็นผู้มากบารมีที่อ่านเกมส์ขาดทุกอย่างแต่ก็เปี่ยมไปด้วยความกรุณาอย่างถึงที่สุด ส่วนแคทเธอรีนทำหน้าที่เสมือนเป็นกระบอกเสียงของรัฐไทยที่ตอกหน้านพพรว่าความเป็นไทยแบบจารีตนั้นงดงามและน่าลุ่มหลงเพียงใด ขนาดฝรั่งหัวทองยังต้องมาตกหลุมรักและพยายามปกป้องรักษาไว้ในขณะที่คนไทยด้วยกันกำลังทำลายรากของตัวเอง ทั้งนี้ น่าสนใจว่าผู้ที่กุมอำนาจนำในฐานะผู้เล่าเรื่องกลับตกเป็นหน้าที่ของ “เทพบุตร-เทพธิดา” ซึ่งผมอยากจะเรียกว่าตุ๊กตาเสียกบาลประจำศาลพระภูมิที่ถูกรัดรึงไปด้วยเครื่องโขนละครอย่างประเพณีนิยมเต็มคราบ กับเหล่า “อวตาร” (Avatar) พระ-นาง-ลิง อุปลักษณ์ของ เจ้าคุณอธิการบดี-แคทเธอรีน-นพพร ผู้ไม่มีสิทธิจะเป็น “คน” แม้เพียงในความฝัน
.
ถ้าจะพูดให้ถูกสิ่งที่แคทเธอรีนหลงรักหาใช่ “ความเป็นไทย” อย่างที่ผู้สร้างต้องการจะบอกให้เราเชื่อ แต่เธอตกอยู่ในวังวนของ “มายาภาพ” (Fantasy) และรสนิยม “ความลุ่มหลงต่อความแปลกใหม่” (Exotic) ที่เธอสร้างขึ้นมาหลอกตัวเองต่างหาก ถ้าพิจารณาให้ดีจะเห็นว่าแคทเธอรีนหมั้นหมายมาอยู่กับท่านเจ้าคุณเพราะความรู้สึก “ถวิลหาอดีต” (Nostalgia) ของความรักครั้งแรกที่ยังไม่เคยถูกเติมเต็ม แต่กลับค้นพบว่าท่านเจ้าคุณไม่สามารถตอบสนองความปรารถนาของเธอได้อย่างที่คิด จะด้วยความจงใจหรือสถานการณ์บันดาล ความเย้ายวนอย่าง Exotic นี้เองนำพาเธอไปสู่ความดูดดื่มครั้งใหม่กับ “หนุ่มไทยบ้าน” อย่างนพพรที่คงจะเร้าใจกว่า หากครั้งหนึ่งท่านเจ้าคุณเคยสอนให้แคทเธอรีนรู้จักว่า “ความรักในงานศิลปะ” เป็นเช่นไร เมื่อมีโอกาสเธอก็พร้อมจะสอนให้ไก่อ่อนอย่างนพพรรู้จัก “ความรักในงานศิลปะ” เช่นเดียวกันนั้นด้วย เพราะเหตุนี้ ฉากน้ำตกจึง "เฉอะแฉะ" และ "เจิ่งนอง" ไปด้วย "น้ำ" ท่ามกลางธรรมชาติอันผลิบาน สงัด และอุดมสมบูรณ์ “Waterfall” จึงเป็น “สัญญะ” ที่สำคัญกว่า “ภาพลักษณ์” ที่ต้องรักษา เพราะเป็นบ่อเกิดของต้นธารแรงบันดาลใจอันพรั่งพรูของแคทเธอรีนในการวาดภาพมิตาเกะที่ร้างมือไปนาน และเพราะเหตุนี้ด้วยเธอจึงเลือกใช้ “สีน้ำ” ละเลงลงบนกระดาษที่แห้งผากจนกลับมามีสีสันอีกครั้ง "น้ำตก" ได้กลายเป็นน้ำทิพย์ที่ชโลมให้เธอมีชีวิตอยู่ต่อไป แต่เมื่อเธอค้นพบว่าเธอไร้สิ้นอำนาจในการเข้าควบคุมเป็นเจ้าของนพพรตอนท้ายเรื่อง เธอจึงเลือกที่จะตายอยู่ในมายาภาพที่เธอสร้างขึ้นมาเองนั้น เพราะ "Everything in the world is about sex — except sex. Sex is about power”, Oscar Wilde.
.
ความสำเร็จหรือล้มเหลวของละครเรื่องนี้จึงไม่ได้อยู่ที่ “การรื้อสร้าง” (Deconstruction) เรื่องราวจนผิดเพี้ยนไปจากต้นฉบับ แต่เป็นเพราะภาวะการไปไม่สุดในทางใดทางหนึ่ง ความสะเปะสะปะของการไม่หลุดพ้นจากร่องรอยความสำเร็จของตัวเองใน “ข้างหลังภาพ เดอะมิวสิคัล” ได้ตามหลอกหลอนผู้สร้างเช่นเดียวกับมายาภาพที่ตามหลอกหลอนแคทเธอรีน ความสองจิตสองใจในการตัดสินใจจะเก็บทั้งไทย ทั้งญี่ปุ่น แต่ก็อยากจะนำอเมริกาเข้ามามีบทบาทด้วยให้ได้ตามท่าบังคับที่จะนำละครเรื่องนี้ไปสู่บรอดเวย์กลายเป็นตลกร้าย และที่ร้ายยิ่งกว่าก็คือ ความลุ่มหลงในมายาคติของกรอบความคิดเรื่องความเป็นไทย ได้ทำให้ละครเรื่องนี้ขาดชั้นเชิงเช่น “ภาพ” ที่มี “ข้างหลัง” แต่กลายเป็นเพียงน้ำตกพิศวาสที่ไม่อาจเป็น Global Citizen ได้อย่างใจปรารถนา