
ว่าด้วยเรื่องของการคัดเลือกนักแสดง (Audition) ที่ Texas Tech...
ในทุกๆปีการศึกษาสาขาวิชาการละคอนที่นี่จะผลิตละคอนเพื่อนำเสนอสู่สาธาณชนตลอดทั้งปีไม่เคยขาด เฉลี่ยแล้วปีละไม่ต่ำกว่า 8 เรื่อง แบ่งเป็นภาคต้นกับภาคปลายอย่างละ 4 เรื่อง หรืออาจมากกว่านี้ รวมทั้งหมดเป็น Season เรียกได้ว่าเมื่อละคอนเรื่องหนึ่งจบลง ละคอนเรื่องต่อไปก็เตรียมจ่อเข้าโรงทันทีไม่มีขาด การคัดเลือกเรื่องที่จะนำเสนอจะมีกรรมการซึ่งเป็นตัวแทนจากคณาจารย์และนักศึกษาร่วมกันพิจารณา อันเป็นกระบวนการแรกสุดซึ่งจะเกิดขึ้นเป็นปีๆก่อนอะไรทั้งหมด กระบวนการเหล่านี้จะเก็บไว้เล่าเมื่อสมควรแก่โอกาส สำหรับวันนี้ขอพูดถึงเรื่องการคัดเลือกนักแสดงกันก่อน
วัน General Audition เป็นที่รู้กันดีว่าจะเกิดขึ้นในตอนเย็นลากไปจนถึงดึกขอวันแรกที่เปิดภาคการศึกษาทั้ง Fall และ Spring โดยนักศึกษาทุกคนจะได้รับอีเมล์แจ้งโจทย์ล่วงหน้าเพื่อให้เตรียมความพร้อมราวๆหนึ่งสัปดาห์ก่อนวันคัดเลือก โจทย์ส่วนใหญ่จะเป็นการเตรียม Monolouge หรือบางส่วนจากบทละคอนที่จะจัดแสดง หรืออาจเป็นเพลงและการเต้นถ้ามี Musical ใน Season นั้นๆ การจัด Audition โดยทั่วไปแล้วเป็นหน้าที่ของ Stage Manager แต่ที่นี่นักเรียน Arts Administration เป็นคนจัดเพราะนักศึกษาแขนงอื่นๆจะต้องเข้า Audition ทั้งหมด
กระบวนการเริ่มตั้งแต่นักแสดงมาลงทะเบียนพร้อมกับแบบฟอร์มการ Auditon ซึ่งประกอบด้วย แบบฟอร์มของโรงเรียน ประวัติส่วนตัว รูปถ่าย Headshot โดยต้องทำสำเนาไว้ตามจำนวนที่ผู้จัด Audition กำหนด เมื่อลงทะเบียนแล้ว นักแสดงแต่ละคนจะได้เลขลำดับเพื่อติดไว้ที่หน้าอกพร้อมกับช่วงเวลาในการ Audition ใครได้คิวท้ายๆก็กลับไปนอนรอที่บ้านได้ก่อนเลยเพราะบางครั้งเริ่มลงทะเบียนหกโมงเย็นได้คิวสี่ทุ่มก็มี
ว่ากันในห้อง Audition บ้าง เนื่อจากข้าพเจ้าได้ฝังตัวเข้าไปเป็น Stage Manager เรื่องหนึ่งของ Season นี้ ทำให้ได้ประสบการณ์ตรงประหนึ่งดูสารคดีการทำงานละคอนเป็นที่สนุกสนานมาก ผู้กำกับการแสดง ผู้กำกับเวที และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆเช่นผู้เขียนบทหรือ Dramaturge จะนั่งเรียงกันเป็นตับยาวไปจนสุดความยาวห้อง โดยผู้จัดการคัดเลือกจะนำใบสมัครเข้ามาแจกให้เป็นเซ็ตๆ และจะทยอยปล่อยคิวให้นักแสดงเข้ามาทีละคนๆ โดยแต่ละคนมีเวลา 3 นาทีเท่านั้นที่จะแสดงความสามารถ ข้างหลังเราจะมีผู้ควบคุมเวลาและยกป้ายเมื่อหมดเวลาทุกครั้ง ฝั่งนักแสดงเมื่อแสดงแล้ว ฝั่งคนเลือกก็มีภาระหนักอกอยู่อย่างหนึ่งว่าต้องตัดสินใจแทบจะฉับพลันทันทีว่าคนนี้ได้ไปต่อหรือไม่ ถ้าได้ไปต่อใบสมัครก็จะแยกไว้อีกกองหนึ่ง วันนั้นข้าพเจ้าและทีมนั่งอยู่ในห้องคัดเลือกตั้งแต่หกโมงเย็นจนเกือบห้าทุ่ม โดยมีนักแสดงมา Audition มากถึงเกือบหนึ่งร้อยคน ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาละคอนจะมีนักศึกษาต่างคณะมาปะปนบ้างก็ไม่มากนัก เมื่อกระบวนการสิ้นสุด ห้องคัดเลือกก็กลายเป็นตลาดสดขึ้นมาทันที เพราะคณะทำงานแต่ละโปรดักชั่นต้องจับกลุ่มย่อยกันสรุป List นักแสดงที่ผ่านเข้ารอบแรกของตนและทำสรุปไปสาขาประกาศ Call Back อย่างเป็นทางการ
การ Call Back เป็นการเรียกให้มาคัดเลือกใหม่อีกครั้ง วัน Call Back นี้จะไม่ตรงกันขึ้นอยู่แต่ละโปรดักชั่น และวิธีการก็ต่างกันไป บางโปรดักชั่นอาจกำหนดชัดเจนเลยว่าเรียกให้มาทดลองแสดงในบทบาทใด ก่อนเริ่มกระบวนการทั้งมวลจะมีกระบวนกรมานำกิจกรรมต่างๆเพื่อให้กรรมการได้สกรีนดูแววหรือกรองคนบางส่วนออกไป แล้วจึงให้นักแสดงแต่ละคนเข้ามาทดสอบบททีละคนๆ เป็นเช่นนี้ไปจนจบ ข้าพเจ้าฝังตัวอยู่ในกระบวนการเหล่านี้ทุกขั้นตอนเห็นสนุกที่สุดก็ตอนที่กรรมการทุกคนในโปรดักชั่นจะต้องสรุปจริงๆแล้วว่าจะเลือกใคร โดยจะต้องทำเป็นลิสต์เช่น ในบทบาทนี้คนเหมาะลำดับที่หนึ่ง สอง สาม สี่ คือใครตามลำดับ ทีมจะถกกันละเอียดโดยอาศัยปัจจัยหลายประการเป็นส่วนประกอบ เช่น ความเหมาะสมกันเวลาอยู่บนเวที ประสบการณ์ชีวิต ทักษะการแสดง ฯลฯ เมื่อคัดแล้วก็ต้องวางหมากให้ดีว่าจะจัดใครอยู่ในลำดับก่อนหลัง เพราะรายชื่อนี้จะถูกส่งไปที่กรรมการกรั่นกรองอีกครั้ง และกรรมการกลางจะเป็นผู้จัดนักแสดงให้รับบทต่างๆเป็นขั้นตอนสุดท้าย นั่นหมายความว่า เราอาจไม่ได้คนที่อยู่ในลิสต์อันดับหนึ่งของเราก็ได้ เพราะอีกโปรดักชั่นก็เลือกคนนี้เช่นกันและกรรมการกลางเห็นควรให้อีกโปรดักชั่นได้นักแสดงคนนั้นไป เป็นต้น เมื่อทุกกระบวนการสิ้นสุดก็จึงจะมีการประกาศพร้อมกันอย่างเป็นทางการ
ข้าพเจ้าเฝ้าสังเกตการณ์ต่างๆ จนพอจะจับ Pattern ได้ว่า คนที่จะผ่านเข้ามาแต่ละรอบนั้นควรมีลักษณะอย่างไร เป็นกลเม็ดเคล็ดลับที่น่าสนใจมากๆ การจะได้รับคัดเลือกหรือไม่ส่วนหนึ่งมาจากความพร้อมของนักแสดงเอง อีกส่วนเป็นความเหมาะสมของบทบาทที่มีด้วย ในตลาดของการแข่งขันสูงเช่นนี้นักแสดงมีเวลาเพียงแค่สามนาทีเพื่อได้รับคำตอบว่า Yes หรือ No เท่านั้น ข้าพเจ้าเห็นใบสมัครใบแล้วใบเล่าถูกส่งมายังกองที่ไม่ได้ไปต่อเป็นพะเนินเทินทึก ใจก็วูบวาบนึกถึงเรื่อง A Chorus Line ขึ้นมา บางทีเส้นกั้นฝันมันกเป็นเส้นบางๆอยู่ตรงหน้าแค่นั้นเอง นึกถึงตอนที่ตัวเองล้มลุกคลุกคลานฝ่าด่านต่างๆตอนสมัครเรียน ป.โท ไม่มีสิ่งใดได้มาง่ายเลย บางครั้งต้องล้มเหลวเป็นร้อยครั้งกว่าจะถึงเส้นชัย แต่ยังโชคดีที่ได้เรียนรู้ว่าโลกนี้ย่อมมีที่ยืนสำหรับคนที่ยอมแพ้
Break a leg!!! ครับ
ในทุกๆปีการศึกษาสาขาวิชาการละคอนที่นี่จะผลิตละคอนเพื่อนำเสนอสู่สาธาณชนตลอดทั้งปีไม่เคยขาด เฉลี่ยแล้วปีละไม่ต่ำกว่า 8 เรื่อง แบ่งเป็นภาคต้นกับภาคปลายอย่างละ 4 เรื่อง หรืออาจมากกว่านี้ รวมทั้งหมดเป็น Season เรียกได้ว่าเมื่อละคอนเรื่องหนึ่งจบลง ละคอนเรื่องต่อไปก็เตรียมจ่อเข้าโรงทันทีไม่มีขาด การคัดเลือกเรื่องที่จะนำเสนอจะมีกรรมการซึ่งเป็นตัวแทนจากคณาจารย์และนักศึกษาร่วมกันพิจารณา อันเป็นกระบวนการแรกสุดซึ่งจะเกิดขึ้นเป็นปีๆก่อนอะไรทั้งหมด กระบวนการเหล่านี้จะเก็บไว้เล่าเมื่อสมควรแก่โอกาส สำหรับวันนี้ขอพูดถึงเรื่องการคัดเลือกนักแสดงกันก่อน
วัน General Audition เป็นที่รู้กันดีว่าจะเกิดขึ้นในตอนเย็นลากไปจนถึงดึกขอวันแรกที่เปิดภาคการศึกษาทั้ง Fall และ Spring โดยนักศึกษาทุกคนจะได้รับอีเมล์แจ้งโจทย์ล่วงหน้าเพื่อให้เตรียมความพร้อมราวๆหนึ่งสัปดาห์ก่อนวันคัดเลือก โจทย์ส่วนใหญ่จะเป็นการเตรียม Monolouge หรือบางส่วนจากบทละคอนที่จะจัดแสดง หรืออาจเป็นเพลงและการเต้นถ้ามี Musical ใน Season นั้นๆ การจัด Audition โดยทั่วไปแล้วเป็นหน้าที่ของ Stage Manager แต่ที่นี่นักเรียน Arts Administration เป็นคนจัดเพราะนักศึกษาแขนงอื่นๆจะต้องเข้า Audition ทั้งหมด
กระบวนการเริ่มตั้งแต่นักแสดงมาลงทะเบียนพร้อมกับแบบฟอร์มการ Auditon ซึ่งประกอบด้วย แบบฟอร์มของโรงเรียน ประวัติส่วนตัว รูปถ่าย Headshot โดยต้องทำสำเนาไว้ตามจำนวนที่ผู้จัด Audition กำหนด เมื่อลงทะเบียนแล้ว นักแสดงแต่ละคนจะได้เลขลำดับเพื่อติดไว้ที่หน้าอกพร้อมกับช่วงเวลาในการ Audition ใครได้คิวท้ายๆก็กลับไปนอนรอที่บ้านได้ก่อนเลยเพราะบางครั้งเริ่มลงทะเบียนหกโมงเย็นได้คิวสี่ทุ่มก็มี
ว่ากันในห้อง Audition บ้าง เนื่อจากข้าพเจ้าได้ฝังตัวเข้าไปเป็น Stage Manager เรื่องหนึ่งของ Season นี้ ทำให้ได้ประสบการณ์ตรงประหนึ่งดูสารคดีการทำงานละคอนเป็นที่สนุกสนานมาก ผู้กำกับการแสดง ผู้กำกับเวที และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆเช่นผู้เขียนบทหรือ Dramaturge จะนั่งเรียงกันเป็นตับยาวไปจนสุดความยาวห้อง โดยผู้จัดการคัดเลือกจะนำใบสมัครเข้ามาแจกให้เป็นเซ็ตๆ และจะทยอยปล่อยคิวให้นักแสดงเข้ามาทีละคนๆ โดยแต่ละคนมีเวลา 3 นาทีเท่านั้นที่จะแสดงความสามารถ ข้างหลังเราจะมีผู้ควบคุมเวลาและยกป้ายเมื่อหมดเวลาทุกครั้ง ฝั่งนักแสดงเมื่อแสดงแล้ว ฝั่งคนเลือกก็มีภาระหนักอกอยู่อย่างหนึ่งว่าต้องตัดสินใจแทบจะฉับพลันทันทีว่าคนนี้ได้ไปต่อหรือไม่ ถ้าได้ไปต่อใบสมัครก็จะแยกไว้อีกกองหนึ่ง วันนั้นข้าพเจ้าและทีมนั่งอยู่ในห้องคัดเลือกตั้งแต่หกโมงเย็นจนเกือบห้าทุ่ม โดยมีนักแสดงมา Audition มากถึงเกือบหนึ่งร้อยคน ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาละคอนจะมีนักศึกษาต่างคณะมาปะปนบ้างก็ไม่มากนัก เมื่อกระบวนการสิ้นสุด ห้องคัดเลือกก็กลายเป็นตลาดสดขึ้นมาทันที เพราะคณะทำงานแต่ละโปรดักชั่นต้องจับกลุ่มย่อยกันสรุป List นักแสดงที่ผ่านเข้ารอบแรกของตนและทำสรุปไปสาขาประกาศ Call Back อย่างเป็นทางการ
การ Call Back เป็นการเรียกให้มาคัดเลือกใหม่อีกครั้ง วัน Call Back นี้จะไม่ตรงกันขึ้นอยู่แต่ละโปรดักชั่น และวิธีการก็ต่างกันไป บางโปรดักชั่นอาจกำหนดชัดเจนเลยว่าเรียกให้มาทดลองแสดงในบทบาทใด ก่อนเริ่มกระบวนการทั้งมวลจะมีกระบวนกรมานำกิจกรรมต่างๆเพื่อให้กรรมการได้สกรีนดูแววหรือกรองคนบางส่วนออกไป แล้วจึงให้นักแสดงแต่ละคนเข้ามาทดสอบบททีละคนๆ เป็นเช่นนี้ไปจนจบ ข้าพเจ้าฝังตัวอยู่ในกระบวนการเหล่านี้ทุกขั้นตอนเห็นสนุกที่สุดก็ตอนที่กรรมการทุกคนในโปรดักชั่นจะต้องสรุปจริงๆแล้วว่าจะเลือกใคร โดยจะต้องทำเป็นลิสต์เช่น ในบทบาทนี้คนเหมาะลำดับที่หนึ่ง สอง สาม สี่ คือใครตามลำดับ ทีมจะถกกันละเอียดโดยอาศัยปัจจัยหลายประการเป็นส่วนประกอบ เช่น ความเหมาะสมกันเวลาอยู่บนเวที ประสบการณ์ชีวิต ทักษะการแสดง ฯลฯ เมื่อคัดแล้วก็ต้องวางหมากให้ดีว่าจะจัดใครอยู่ในลำดับก่อนหลัง เพราะรายชื่อนี้จะถูกส่งไปที่กรรมการกรั่นกรองอีกครั้ง และกรรมการกลางจะเป็นผู้จัดนักแสดงให้รับบทต่างๆเป็นขั้นตอนสุดท้าย นั่นหมายความว่า เราอาจไม่ได้คนที่อยู่ในลิสต์อันดับหนึ่งของเราก็ได้ เพราะอีกโปรดักชั่นก็เลือกคนนี้เช่นกันและกรรมการกลางเห็นควรให้อีกโปรดักชั่นได้นักแสดงคนนั้นไป เป็นต้น เมื่อทุกกระบวนการสิ้นสุดก็จึงจะมีการประกาศพร้อมกันอย่างเป็นทางการ
ข้าพเจ้าเฝ้าสังเกตการณ์ต่างๆ จนพอจะจับ Pattern ได้ว่า คนที่จะผ่านเข้ามาแต่ละรอบนั้นควรมีลักษณะอย่างไร เป็นกลเม็ดเคล็ดลับที่น่าสนใจมากๆ การจะได้รับคัดเลือกหรือไม่ส่วนหนึ่งมาจากความพร้อมของนักแสดงเอง อีกส่วนเป็นความเหมาะสมของบทบาทที่มีด้วย ในตลาดของการแข่งขันสูงเช่นนี้นักแสดงมีเวลาเพียงแค่สามนาทีเพื่อได้รับคำตอบว่า Yes หรือ No เท่านั้น ข้าพเจ้าเห็นใบสมัครใบแล้วใบเล่าถูกส่งมายังกองที่ไม่ได้ไปต่อเป็นพะเนินเทินทึก ใจก็วูบวาบนึกถึงเรื่อง A Chorus Line ขึ้นมา บางทีเส้นกั้นฝันมันกเป็นเส้นบางๆอยู่ตรงหน้าแค่นั้นเอง นึกถึงตอนที่ตัวเองล้มลุกคลุกคลานฝ่าด่านต่างๆตอนสมัครเรียน ป.โท ไม่มีสิ่งใดได้มาง่ายเลย บางครั้งต้องล้มเหลวเป็นร้อยครั้งกว่าจะถึงเส้นชัย แต่ยังโชคดีที่ได้เรียนรู้ว่าโลกนี้ย่อมมีที่ยืนสำหรับคนที่ยอมแพ้
Break a leg!!! ครับ